วิธีการเดินท่อ PAP


การเดินท่อ PAP MF
ท่อน้ำร้อน ท่อน้ำ ท่อลม ท่อแก๊ส ฯลฯ

วิธีการติดตั้ง ท่อพีเอพี เอ็มเอฟไป๊ป์
 
1. คลี่ท่อออกจากม้วน โดยวางปลายท่อบนพื้นเรียบสะอาด ปราศจากหินหรือทราย จับหรือเหยียบปลายท่อไว้ คลี่ม้วนท่อโดยหมุนออกจากตัวเอง (หากดึงท่อออกมาจากม้วนโดยตรง ท่อจะมีลักษณะเป็นเกลียว ต้องใช้เวลาดัดหรือจัดท่อให้ตรงเพิ่มขึ้น) วิธีนี้จะทำให้ประหยัดเวลาใน การเดินท่อ ได้มาก
ท่อลม เดินท่อ ท่อ PAP
การคลี่ท่อออกจากม้วน
2. ตัดท่อด้วย กรรไกรตัดท่อ ให้ได้ฉากมากที่สุด เพื่อให้ปลายท่อชนกับบ่าในของข้อต่อ ป้องกันปัญหาการรั่วซึมหลังการติดตั้ง
การตัดท่อ PAP ไม่ถูกต้อง
ห้ามใช้ คีมล็อค การตัดท่อ ที่ถูกต้อง
 
3. ใช้อุปกรณ์บานท่อตามขนาดของท่อ โดยการสอดเข้าดึงออกพร้อม ๆ กับการบิดไปมา (แต่ไม่ใช่คว้านท่อ) ทำซ้ำ 2-3 รอบ เพื่อให้ปลายท่อกลมและสวมกับข้อต่อง่าย ไม่ขูดทำความเสียหายกับแหวนซีลซิลิโคนที่อยู่ในตัวข้อต่อ
 
4. ใส่น็อตตัวเมีย ตามด้วยแหวนล็อคตัว C  เข้าไปในท่อ ข้อควรระวังคือ ต้องใส่ในทิศทางที่ถูกต้องเท่านั้น (ดูรูปประกอบ)
การติดตั้งท่อ PAP MF - การใส่แหวนตัว C
 
5. ค่อย ๆ สอดตรง ๆ (บิดได้เล็กน้อย) เข้าไปในแกนข้อต่อ คอยสังเกตปลายท่อไม่ให้ไปขูดทำให้แหวนซีลซิลิโคนเสียหาย (ถ้าฝืด ให้นำปลายท่อและข้อต่อจุ่มน้ำ เพื่อเป็นการหล่อลื่นได้)
 
หมายเหตุ กรณีถ้าแหวนซีลซิลิโคนเสียหาย ให้เปลี่ยนแหวนซีล หรือถอดแหวนทิ้งไปไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่อย่าให้แหวนซีลที่ขาดเสียหายคาปลิ้นอยู่
 
6. เมื่อสอดปลายท่อพ้นแหวนซีลซิลิโคนแล้ว สามารถออกแรงดันพร้อม ๆ กับการบิดไปมา เพื่อให้ปลายท่อชนกับบ่าในของข้อต่อ ข้อควรระวังคือ ต้องมั่นใจว่าปลายท่อชนกับบ่าในจริง ๆ (สามารถวัดและขีดเส้นที่ท่อก่อนสอดช่วยได้)
 
7. รูดแหวนล็อคตัว C และน็อตตัวเมียเข้าชิดข้อต่อ ขันน็อตตัวเมีย เริ่มขันด้วยมือเบา ๆ ระวังอย่าให้มีการปีนเกลียวตอนเริ่มต้น หลังจากนั้นก็ใช้ประแจเลื่อน หรือประแจสำหรับขันน็อตทั่วไป หรือประแจสำหรับขันข้อต่อโดยเฉพาะ ออกแรงขันจนรู้สึกตึงมือ (รู้สึกเหมือนขันต่อไม่ได้แล้ว) ให้สุดเกลียวหรือเกือบสุดเกลียว (แต่ถ้าออกแรงขันอย่างมากแล้ว ยังไม่สุดเกลียว ก็ไม่ต้องฝืน บางกรณีอาจเหลือเกือบ ๆ 1 เกลียวก็ได้)
ขันอัด ข้อต่อพลาสติก MF Pipe
หมายเหตุ น็อตตัวเมียของ ข้อต่อพลาสติก ทำจากวัสดุไนล่อนผสม ทนแรงขันได้เป็นอย่างดี (แต่ไม่ทนแรงบีบอัด) ดังนั้น ท่านสามารถขันอัดอย่างเต็มที่ได้เลย
 

 
8. ข้อดีประการหนึ่งของท่อ PAP ก็คือ มาเป็นม้วน ดัดโค้งงอได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ข้องอ 90 องศา เพื่อลดต้นทุน การเดินท่อ ลดจำนวน และลดจุดเสี่ยงจากการติดตั้งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ท่อ PAP ไม่สามารถงอหักศอกตั้งฉาก 90 องศาได้ การดัดโค้ง สามารถดัดด้วยมือเปล่า โดยค่อย ๆ ไล่จุดที่ดัดโค้งไปเรื่อย ๆ หลีกเลี่ยงการดัดโค้งจุดใดจุดหนึ่งตลอดเวลา ระวังอย่าให้ท่อบี้เสียรูป หรือเกิดการพับ (โดยเฉพาะตอนเดินท่อ ณ จุดเหลี่ยมเสา)
การเดินท่อ ดัดโค้ง สปริงดัดท่อ
รูปแสดง การเดินท่อ พีเอพี เอ็มเอฟไป๊ป์
การเดินท่อ ถ้าต้องดัดโค้งงอมาก ๆ ให้ใช้สปริงดัดท่อช่วย โดยสอดสปริงเข้าไปอยู่ในจุดที่จะดัดโค้ง ผูกเชือกไว้กับด้านหนึ่งของสปริง เพื่อใช้ดึงสปริงออกหลังดัดท่อเสร็จ ความโค้งสูงสุดที่สามารถดัดได้ ดังรูปข้างล่างนี้ (หากไม่มีสปริงช่วย ก็จะดัดได้น้อยกว่านี้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง)
การเดินท่อ การดัดโค้งท่อ
 
9. หลังจาก การเดินท่อ เสร็จแล้ว ควรทดสอบความดัน (Pressure Test) โดยเครื่องทดสอบความดันท่อโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่มี ก็จ่ายน้ำจากระบบที่จะใช้งานจริง หรือถ้ายังไม่มีระบบน้ำ อย่างน้อยก็หาทางอัดน้ำ (เช่น สายยางจากไซ้ต์งานก่อนสร้าง) เท่าที่จะทำได้ เพื่อตรวจสอบความแน่นหนา หรือรอยรั่ว ก่อนทำการปิดผนังด้วยปูน หรือก่อนการใช้งาน
Pressure Test Pump
 
10. ข้อต่อพลาสติก PAP ของ MF Pipe สามารถถอดใส่ได้หลายครั้ง ทุกครั้งที่ถอดข้อต่อ ออกมาแล้วต่อกลับไปใหม่ ต้องใช้อุปกรณ์บานท่อก่อน (เนื่องจากท่อถูกบีบตอนขันอัด ถ้าสอดเข้าแกนข้อต่อโดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์บานท่อก่อน ปลายท่ออาจจะครูดให้ซีลซิลิโคนเสียหายได้)
 
ขณะถอดออก ก็ควรต้องค่อย ๆ ดึง เพื่อไม่ทำให้แหวนซีลซิลิโคนเสียหาย (แต่ถ้าเสียหาย ก็ต้องถอดซีลซิลิโคนออกแล้วเปลี่ยนใหม่ หรือถ้าหาอะไหล่ไม่ได้จริง ๆ ก็ถอดซีลซิลิโคนทิ้งไปไม่ใช้ก็ได้ แต่ต้องเน้นขันข้อต่อให้แน่นมากขึ้น)
 
หมายเหตุ หากมีการถอดใส่หลาย ๆ รอบ ควรตรวจสอบสภาพปลายท่อ ถ้าช้ำมากเกินไป (เนื่องจากการขันอัด แหวนล็อคตัว C จะจิกอัดเพื่อให้ยึดท่อกับข้อต่อให้แนบแน่น) ก็ควรตัดปลายท่อทิ้งเล็กน้อย


ข้อควรระวัง การเดินท่อ PAP พีเอพี เอ็มเอฟไป๊ป

1. ตัดท่อให้ได้ฉา ด้วยกรรไกรตัดท่อ รอยตัดเรียบ

2. ใช้อุปกรณ์บานท่อทุกครั้ง

3. ใส่แหวนล็อคตัว C ให้ถูกด้าน (ดูรูปหรือวีดีโอ)

4. ดันปลายท่อให้สุดชนบ่าในของ ข้อต่อ

5. ห้ามใช้คีมล็อคหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่ไปบีบอัดข้อต่อ เพราะอาจบีบอัดจนด้านในของข้อต่อชำรุด ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วซึมภายหลังได้

6. ออกแรงขันให้เต็มที่ จนเกือบสุด หรือสุดเกลียว (หากใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง ก็สามารถขันอัดได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกลัวข้อต่อแตก แต่ก็อย่าฝืนขันต่อเมื่อสุดเกลียวแล้ว

7. กรณีเดินลอย ให้ระวังบริเวณข้อต่อ ไม่ให้อยู่ในตำแหน่งบิด เอียง หรือดัด ซึ่งจะทำให้มีความเครียด (เช่น ถูกงัดหรือบิดตลอดเวลา) เมื่อเวลาผ่านไป น้ำอาจรั่วซึมได้

8. กรณีเดินลอย ให้ใช้แคล้มป์ยึดท่อทุก ๆ 0.6-1.5 เมตร โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อ ควรยึดบริเวณใกล้กับข้อต่อทั้ง 2 หรือ 3 ด้านของเรือนข้อต่อนั้น ๆ (ดูรูปประกอบข้างบน)

9. เกลียวนอกของข้อต่อฝั่งที่ต่อกับท่อ PAP ห้ามพันด้วยเทปพันเกลียว
ส่วนฝั่งที่ต่อกับข้อต่อเกลียว ก๊อกน้ำ วาล์ว ใช้เทปพันเกลียวได้ (ดูรูปประกอบ)


เทปพันเกลียว ข้อต่อ การเดินท่อ

ประแจ ขันข้อต่อ จับข้อต่อ ท่อพีเอพี

รูปแสดงขั้นตอนติดตั้งข้อต่อ
ท่อพีเอพี เอ็มเอฟไป๊ป
ท่อน้ำร้อน ท่อน้ำ ท่อลม ท่อแก๊ส ฯลฯ

 การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-01
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-02
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-03
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-04
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-05
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-06
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-07
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-08
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-09
 
การเดินท่อ PAP ท่อลม ท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน-10