Posted on

การดัดโค้งท่อ PAP (ท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส ฯลฯ)

ท่อลม PAP ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ค่าวัสดุ และค่าแรงติดตั้งต่ำ ติดตั้งเองได้ งบประมาณโดยรวม ต่ำกว่าการเดินท่อลมด้วยท่อเหล็กกัลวาไนซ์มาก ในขณะที่ อายุการใช้งานสูงกว่าท่อเหล็ก เนื่องจากท่อ PAP ไม่เป็นสนิม ผิวในเรียบลื่นตลอดอายุใช้งาน (ท่อเหล็กผิวในจะค่อย ๆ บวม รูในค่อย ๆ ตีบ เล็กลง และเป็นสนิม ผุกร่อน)

เดินท่อลม ด้วยท่อ PAP ดีอย่างไร

ท่อ PAP มาเป็นม้วน สามารถเดินท่อในแต่ละช่วงแบบยาว ๆ ไร้รอยต่อได้ ไม่ต้องใช้ข้อต่อตรง และข้องอ นอกจากจะประหยัดค่าข้อต่อแล้ว การดัดโค้งท่อ ยังช่วยให้ไม่เกิดแรงดันตก เพราะการใส่ข้องอจำนวนมาก โดยเฉพาะในเส้นท่อเมน อาจทำให้แรงดันที่ปลายทางลดลงได้ Continue reading การดัดโค้งท่อ PAP (ท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส ฯลฯ)

Posted on

ข้อต่อทองเหลือง

ข้อต่อทองเหลือง ขนาด 1/4" (2 หุน) ถึง 1" (1 นิ้ว) คลิกที่รูปข้างล่างนี้ เพื่อเลือกดูสินค้า ขนาดต่าง ๆ ของแต่ละแบบ หรือ คลิกที่ ข้อต่อทองเหลืองทั้งหมด เพื่อเลือกดูข้อต่อทองเหลืองทุกแบบทุกขนาด

Read More

Posted on

เดินท่อลม ด้วยท่อ PAP ได้มั้ย

เดินท่อลม ได้แน่นอนครับ ในที่นี้ก็หมายถึง ลมอัดหรืออากาศอัด ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Compressed Air โดยทั่วไปความดันจะอยู่ที่ประมาณ 7 บาร์ (100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว, psi) แต่ก็มีปั๊มลมบางรุ่นที่ทำความดันได้ถึง 12 บาร์ (174 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว, psi) ซึ่งท่อ PAP ก็รับแรงดันนี้ได้สบายครับ

Read More

Posted on

วิธีใช้งานท่อ PAP (2)

6. ท่อ PAP และ ข้อต่อ เดินฝังในผนังได้มั้ย

ได้แน่นอนครับ จุดที่มักจะมีปัญหามากที่สุดของการเดินท่อแทบทุกชนิดคือ ข้อต่อ บวกกับอีกหนึ่งเหตุผลคือ ของเหลวหรือแก๊สที่อยู่ในท่อ มักจะเกิดความดันกระแทกได้ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Water Hammer มักเกิดจากการปิดวาล์วกะทันหัน หรือการสตาร์ทหรือหยุดกะทันหันของปั๊ม หรือกรณีเช่น เมื่อน้ำไม่ไหล หรือไหลอ่อน ทำให้มีอากาศปนอยู่ในน้ำ เป็นลักษณะโพรงอากาศ (Cavitation) ความดันไม่สม่ำเสมอ ท่อจะเกิดกระแทกหรือสั่นอย่างรุนแรง ดังนั้น การเดินท่อแบบฝัง ท่อและข้อต่อจะถูกตรึงอยู่กับที่ตลอดแนว จึงลดผลกระทบของความดันกระแทกดังกล่าวได้อย่างดี Continue reading วิธีใช้งานท่อ PAP (2)

Posted on

วิธีใช้งานท่อ PAP (1)

จากการที่ผมได้คุยกับลูกค้าที่ผ่าน ๆ มา เจอะเจอคำถามหลาย ๆ คำถามที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการ เดินท่อ เช่น ท่อ PAP ใช้เดินท่อน้ำร้อนได้มั้ย ทนอุณหภูมิได้มั้ย ทนความดันได้มั้ย เดินฝังผนังได้มั้ย ใช้เดินท่อลมได้มั้ย เป็นต้น จึงขอรวบรวมเป็นประเด็นในแง่มุมต่าง ๆ ไว้ครับ

1. ท่อ PAP ใช้ทำอะไร เดินท่ออะไรได้บ้าง

ใช้เดินท่อของเหลว และแก๊สแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำร้อน น้ำอุ่น น้ำประปา น้ำเย็น (Chilled Water) น้ำหล่อเย็น (Cooling Water) ท่อให้ความอบอุ่น (อันนี้มีใช้ในเมืองหนาว คือบ้านเขาหนาว เขาก็ใช้เหมือนที่เรียกว่าเตาผิง ตรงข้ามกับบ้านเรา ที่ใช้เครื่องปรับอากาศ) เดินท่อน้ำแรงดันสูง ท่อลม ท่ออากาศอัด (Compressed Air) แก๊สหุงต้ม ท่อน้ำยาแอร์ ท่อน้ำมัน สารเคมีบางประเภท เป็นต้น กรณีท่อ PAP ของ MF Pipe เราผลิตจากเม็ดพลาสติกใหม่ ไม่ผสมเม็ดรีไซเคิ้ล เป็นชนิดที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์สัมผัสอาหารได้ (Food Grade) จึงปลอดภัย สำหรับกรณีเดินท่อน้ำดื่ม

2. แล้ว ท่อ PAP มันทนอุณหภูมิได้เท่าไหร่ Continue reading วิธีใช้งานท่อ PAP (1)

Posted on

เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท (ตอนที่ 3/3)

ปั๊มความร้อน  เป็นตอนที่ 3 (ตอนจบ) ของบทความเรื่อง เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท ต่อจากคราวที่แล้ว

4. เครื่องทำน้ำร้อนแบบปั๊มความร้อน (Heat Pump) เป็นเครื่องทำน้ำร้อนที่ได้รับการยอมรับว่าประหยัดพลังงาน (ถ้าไม่ไปเทียบกับเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งฟรี) สามารถใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยทำน้ำร้อนเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้า 3-4 หน่วย หรือพูดง่าย ๆ ว่าประหยัดค่าไฟกว่า 3-4 เท่านั่นเอง ปั๊มความร้อนไม่ใช่ของใหม่ เป็นการกลับข้างการใช้ประโยชน์ที่ต่างกันของเครื่องปรับอากาศ โดยที่หลักการทำงานเหมือนกัน คือ ต้องมีน้ำยา เช่น R134a, R401a, R32 เป็นต้น การติดตั้งและเดินท่อซึ่งส่วนใหญ่ใช้ท่อทองแดงก็จะเป็นแบบเดียวกับเครื่องปรับอากาศ

ปั๊มความร้อน Heat Pump

สิ่งที่แตกต่างคือ กรณีเครื่องปรับอากาศ เราใช้ประโยชน์ของคอยล์เย็นเพื่อทำให้ห้องเย็น Continue reading เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท (ตอนที่ 3/3)

Posted on

เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท (ตอนที่ 2/3)

เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์  เป็นตอนที่ 2 ของบทความเรื่อง เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท ต่อจากคราวที่แล้ว

3. เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่ฟรี ไม่ต้องใช้เงินซื้อ หลายคนเข้าใจว่าเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ก็คือ โซล่าเซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด โซล่าเซลล์เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อไปใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงเอาไปใช้สำหรับเครื่องทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้าตามปกติก็ได้ ในขณะที่เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Water Heater) เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานความร้อนในรูปของน้ำร้อน แผงที่ใช้ก็จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แผงโซล่าเซลล์ที่ใช้มากในปัจจุบันคือ แผ่นซิลิก้อน ส่วนแผงสำหรับเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 แบบคือ แบบแผ่นเรียบ (Plate Type) และแบบหลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube Type)

เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ แบบแผ่นเรียบ

3.1 เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ แบบแผ่นเรียบ เป็นแบบแรกที่มีใช้ในเชิงพาณิชย์แพร่หลายทั่วโลก Continue reading เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท (ตอนที่ 2/3)

Posted on

เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท (ตอนที่ 1/3)

เครื่องทำน้ำร้อน ถ้าจะย้อนอดีตกลับไป การทำน้ำร้อนก็มีหลากหลายวิธี อาทิเช่น การต้มน้ำร้อนด้วยฟืน ถ่าน ถ่านหิน น้ำมันก๊าด เป็นต้น ในที่นี้ขอนำเสนอเครื่องทำน้ำร้อนที่มีใช้ในปัจจุบันเป็นหลัก ดังนี้

1. เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้แก๊ส นิยมใช้มากในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีระบบท่อแก๊สจ่ายตามอาคารบ้านเรือน คล้าย ๆ กับน้ำประปา คือ มีการเดินท่อแก๊สหลัก (ท่อประธาน หรือท่อเมน) แล้วแยกเป็นท่อเล็ก ๆ จ่ายตามอาคารบ้านเรือน ในประเทศไทย ไม่มีระบบท่อแก๊สแบบนั้น เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้แก๊ส จึงไม่เป็นที่นิยม อาจจะมีพบบ้างตามโรงแรม โรงพยาบาล เครื่องทำน้ำร้อนชนิดนี้ ได้ออกแบบระบบความปลอดภัยไว้หลายชั้น รวมถึงการออกแบบการระบายไอเสียด้วย ซึ่งต้องระบายให้ดี มิฉะนั้น อาจได้รับอันตรายจากการขาดอากาศหายใจได้ ข้อดีของระบบนี้คือ ต้นทุนค่าแก๊สในการทำน้ำร้อนต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องทำน้ำร้อนบางประเภท ข้อเสียก็คือ ความยุ่งยากในการติดตั้ง ความกังวลเรื่องความปลอดภัย และมลพิษจากการเผาไหม้ Continue reading เครื่องทำน้ำร้อน มีกี่ประเภท (ตอนที่ 1/3)

Posted on

น้ำอุ่น น้ำร้อน มีประโยชน์มากมาย

น้ำร้อน หรือ น้ำอุ่น มีประโยชน์มากมาย การดื่มน้ำอุ่น มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน เช่น ระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย การหายใจ ระบบภูมิต้านทาน และสุขภาพผิวพรรณ เป็นต้น  นอกจากใช้ดื่มแล้ว น้ำอุ่นหรือน้ำร้อนยังมีการใช้งานและประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

ดื่มน้ำอุ่นเป็นประโยชน์สุขภาพ

1. ใช้สำหรับอาบ การอาบน้ำอุ่นเป็นเรื่องปกติมากสำหรับประเทศที่มีอากาศหนาว จนเป็นวิถีชีวิตปกติไป สังเกตได้จากที่คนส่วนใหญ่ในประเททศนั้น ๆ ก็ยังอาบน้ำอุ่นแม้ในฤดูร้อน ในขณะที่ประเทศไทย วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยนิยมอาบน้ำเย็น  เนื่องจากอากาศที่ร้อนเกือบทั้งปี อย่างไรก็ตาม เมื่อหน้าหนาวมาถึง หรือในวันที่ฝนตกต่อเนื่อง น้ำอุ่นก็ถือเป็นสวรรค์ของหลาย ๆ คนเลยทีเดียว Continue reading น้ำอุ่น น้ำร้อน มีประโยชน์มากมาย

Posted on

ท่อน้ำร้อน มีกี่ชนิด

ท่อน้ำร้อน โดยทั่วไปจะต้องทนอุณหภูมิขณะใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 95 องศา C น้ำที่ต้มจนเดือดมีอุณหภูมิประมาณ 100 องศา C เมื่อมีการส่งไปตามท่อ อุณหภูมิของน้ำร้อนจะลดลง ขึ้นกับระยะทางและความร้อนสูญเสียระหว่างทาง อุณหภูมิที่ต้องการขึ้นกับการใช้งาน เช่น ถ้าใช้อาบมักออกแบบให้มีอุณหภูมิ 60 องศา C เพื่อผสมกับน้ำเย็นปรับตามความต้องการของแต่ละคน ถ้าใช้ซักผ้ามักจะออกแบบเป็น 80 องศา C ท่อที่เหมาะสำหรับขนส่งน้ำร้อนมีอยู่มากมายหลายชนิด ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะ ท่อน้ำร้อน ที่มีการใช้งานบ่อยในประเทศไทย ดังนี้ Continue reading ท่อน้ำร้อน มีกี่ชนิด

Posted on

ท่อ PAP คือ อะไร

PAP pipe structureภาพแสดงโครงสร้างของท่อ PAP MF

ท่อมัลติเลเยอร์ PAP (Plastic-Aluminium-Plastic) MF คือ ท่อที่ทำจากวัสดุผสมพลาสติกและอลูมิเนียม เป็นพัฒนาการครั้งสำคัญในวงการวิศวกรรมเกี่ยวกับระบบท่อและวัสดุที่ใช้ทำท่อ ท่อ PAP ได้รวมเอาข้อดีของท่อโลหะและท่อพลาสติกเข้าไว้ด้วยกัน มั่นใจได้ว่าสามารถใช้แทนท่อกัลวาไนซ์ ท่อทองแดง ท่อโลหะ ท่อพีวีซี ท่อพีอี ท่อพีพีอาร์ได้ วิธีการต่อท่อนั้นสะดวกมาก เพียงขันเกลียวของตัวข้อต่อด้วยอุปกรณ์ช่างทั่วไป ใช้ได้ทั้งท่อน้ำร้อน ท่อน้ำเย็น และท่อแก๊ส Continue reading ท่อ PAP คือ อะไร

Posted on

ท่อ PAP MF

ท่อ PAP MF ทนอุณหภูมิ ความดัน น้ำหนักเบา ทนสารเคมี น้ำมัน น้ำร้อน และไม่เป็นสนิม ชั้นในของท่อ PAP เรียบและลื่น ไม่เป็นสนิม อัตราการไหลสูงกว่าท่อโลหะถึง 30% ดัดโค้งงอได้ง่าย จึงสามารถเดินผ่านคาน ปล่อง ฝังในผนัง คอนกรีต ท่อบรรจุมาเป็นม้วน ทำให้ประหยัดข้อต่อตรงและข้องอ เดินท่อได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถทำเองที่บ้านแบบ DIY ได้ สามารถตรวจสอบแนวท่อด้วยเครื่องตรวจจับโลหะได้ ใช้สำหรับเดินท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน อากาศอัด แก๊ส น้ำมัน สารเคมี ตามอาคาร บ้านเรือน คอนโดมิเนียม ตึกสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล และในโรงงานอุตสาหกรรม
Continue reading ท่อ PAP MF

Posted on

ข้อต่อพลาสติก MF

ข้อต่อ PAP พลาสติก

ข้อต่อท่อ พลาสติก MF ได้รับการจดสิทธิบัตร ออกแบบมาให้ใช้กับท่อ PAP โดยเฉพาะ ทั้งท่อน้ำร้อน น้ำเย็น และแก๊ส เพื่อช่วยลดต้นทุนการติดตั้ง ทำจากวัสดุพลาสติกวิศวกรรมอัลลอยด์ ที่ประกอบไปด้วย โพลิเอไมด์ โพลีคาร์บอเนต ไนลอน และโพลีออกซีเมธิลีน (POM-Polyoxymethylene) เพื่อใช้แทนข้อต่อทองเหลืองที่มีราคาแพง

สามทางถอดน็อต (small file)

Read More