Posted on

การดัดโค้งท่อ PAP (ท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส ฯลฯ)

ท่อลม PAP ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ค่าวัสดุ และค่าแรงติดตั้งต่ำ ติดตั้งเองได้ งบประมาณโดยรวม ต่ำกว่าการเดินท่อลมด้วยท่อเหล็กกัลวาไนซ์มาก ในขณะที่ อายุการใช้งานสูงกว่าท่อเหล็ก เนื่องจากท่อ PAP ไม่เป็นสนิม ผิวในเรียบลื่นตลอดอายุใช้งาน (ท่อเหล็กผิวในจะค่อย ๆ บวม รูในค่อย ๆ ตีบ เล็กลง และเป็นสนิม ผุกร่อน)

เดินท่อลม ด้วยท่อ PAP ดีอย่างไร

ท่อ PAP มาเป็นม้วน สามารถเดินท่อในแต่ละช่วงแบบยาว ๆ ไร้รอยต่อได้ ไม่ต้องใช้ข้อต่อตรง และข้องอ นอกจากจะประหยัดค่าข้อต่อแล้ว การดัดโค้งท่อ ยังช่วยให้ไม่เกิดแรงดันตก เพราะการใส่ข้องอจำนวนมาก โดยเฉพาะในเส้นท่อเมน อาจทำให้แรงดันที่ปลายทางลดลงได้

ท่อลม PAP น้ำหนักเบา ไม่ต้องทำซัพพอร์ตยึดท่อเหมือนกรณีท่อเหล็ก ยึดกับผนังปูน เสาเหล็ก หรือโครงสร้างอื่น ๆ ได้โดยตรง ดัดโค้งท่อ เลี้ยวหลบสิ่งกีดขวางได้ เช่น เหลี่ยมเสา คาน ฯลฯ

ติดตั้งท่อลม ดัดโค้ง หลบเสา คาน

ท่อน้ำร้อน PAP ก็เช่นกัน สามารถดัดโค้งท่อได้ นอกจากจะประหยัดค่าข้อต่อและค่าติดตั้งแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดตั้งข้อต่อ ทำให้ระหว่างทางของการเดินท่อ โดยเฉพาะแบบฝังในผนัง ไร้รอยต่อ มีเพียงข้อต่อหัวท่อ ท้ายท่อ และข้อต่อสามทางเท่านั้น

กรณีต้องมีการกรีดผนัง เพื่อฝังท่อ ก็กรีดบริเวณจุดเลี้ยวให้มีความโค้ง หรือกว้างขึ้น เพื่อรองรับการดัดโค้งท่อ

ท่อแก๊ส PAP ก็เป็นในทำนองเดียวกัน สามารถเดินท่อแบบไร้รอยต่อ โดยใช้ข้อต่อให้น้อยที่สุดได้เช่นกัน

ท่อ PAP มาเป็นม้วน เริ่มต้นด้วยการคลี่ท่อออกจากม้วน ยกม้วนท่อขึ้น กรณีทำคนเดียว ก็ใช้เท้าเหยียบท่อไว้เบา ๆ (ทำความสะอาดพื้นก่อน เพื่อป้องกันก้อนกรวดหรือทราย ขูดขีดโดยท่อมากเกินไป) แล้วคลี่ท่อออกจากตัว เดินไปข้างหน้า

วิธีการดัดท่อให้ตรง ท่อ PAP ท่อลม

กรณีทำ 2 คน คนหนึ่งกดท่อไว้กับพื้น อีกคนยกม้วนท่อขึ้น (ทำความสะอาดพื้นก่อนเช่นกัน) แล้วคลี่ท่อเข้าหาตัว ถอยหลังไปเรื่อย ๆ ส่วนคนที่กดท่อไว้ ก็ตามกดท่อไปข้างหน้า

ถ้าใช้วิธีดึงปลายท่อออกจากม้วนโดยตรงเลย มันก็จะออกมาคล้ายขดสปริง ต้องใช้เวลานาน กว่าจะดัดให้ตรงได้

พอคลี่ท่อออกจากม้วนแล้ว ท่อก็จะยังไม่ตรงสักทีเดียว ไม่จำเป็นต้องดัดให้ตรงตั้งแต่แรก (ตรงพอประมาณก่อนก็พอ) นำท่อไปติดตั้ง ยึดกับแคล้มป์ หรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อตรึงท่อให้นิ่ง (กรณีเดินท่อฝังในผนัง ก็เพียงจัดท่อให้เข้ากับร่องหรือแนวท่อ) แล้วค่อย ๆ ดัดให้ตรงภายหลัง สามารถใช้ค้อนยางตีเบา ๆ ช่วยได้

เมื่อเดินท่อไปถึงจุดเลี้ยว หรือต้องอ้อมสิ่งกีดขวาง ก็สามารถดัดโค้งท่อได้ ด้วยเหตุนี้ การเดินท่อลม ท่อแก๊ส ด้วยท่อ PAP จึงไม่จำเป็นต้องทำซัพพอร์ตยื่นออกมารับ เหมือนอย่างกรณีของท่อเหล็ก สามารถยึดกับผนัง เสา หรือโครงสร้างอะไรก็ได้ เพราะเราสามารถดัดโค้งท่อ เพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวาง (เช่น เหลี่ยมเสา คาน เป็นต้น) ได้นั่นเอง

ท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส PAP มีผนังท่อ 3 ชั้น ประกอบด้วย พลาสติก-อลูมิเนียม-พลาสติก เป็นการรวมเอาข้อดีของท่อพลาสติก และท่อโลหะเข้าด้วยกัน ทำให้เมื่อดัดโค้งแล้ว จะคงตัว ไม่ดีดตัวกลับ และสามารถดัดกลับให้ตรง หรือดัดไปทิศทางอื่นได้ใหม่ได้

ท่อ PAP สามารถดัดได้ด้วยมือเปล่า ไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ เลย เพียงแต่ต้องระวัง ไม่ดัดจุดใดจุดหนึ่งอย่างรวดเร็วมากเกินไป เพราะท่ออาจจะบี้ หรือพับได้ กระจายแรงให้สม่ำเสมอ ค่อย ๆ ดัดไปเรื่อย ๆ

ท่อลม ดัดโค้งเป็นจุดมากเกินไป

กรณีที่ต้องการดัดให้มีความโค้งที่แคบ ๆ (รัศมีความโค้งน้อย ๆ) ถ้าดัดด้วยมือเปล่าไปเรื่อยๆ ท่ออาจจะเริ่มบี้ จึงจำเป็นต้องใช้สปริงดัดท่อช่วย

สปริงดัดท่อ 16 มิล (ท่อลม 4 หุน)

สปริงดัดท่อ 20 มม. (ท่อลม 1620)

สปริงดัดท่อ 25 มม. (ท่อลม 6 หุน 2025)

สปริงดัดท่อ 1 นิ้ว (ท่อลม 32 มม. 2632)

กรณีดัดช่วงปลายท่อ หรือลึกจากปลายท่อเข้าไปไม่มากนัก สามารถใช้สปริงดัดท่อแบบสอดในท่อได้

สปริงดัดท่อ ท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส

กรณีต้องการดัดช่วงกลาง ๆ ท่อ หรือตำแหน่งที่ห่างจากปลายท่อไปพอสมควร (เช่น มากกว่า 1 เมตร) การใช้สปริงดัดท่อแบบสอดในท่อ ก็จะไม่สะดวก (ต้องผูกเชือก คำนวณและวัดระยะเชือกให้พอดี หาอะไรแหย่และดันสปริงเข้าไปในตำแหน่งที่จะดัด) จึงต้องใช้สปริงดัดท่อ แบบสวมนอกท่อแทน

สปริงดัดท่อ สำหรับ ท่อลม (ปั๊มลม) ท่อน้ำร้อน

สปริงดัดท่อ แบบสวมนอกท่อ สามารถใช้ดัดได้ทุกตำแหน่ง ตลอดแนวเส้นท่อ รวมถึงการดัดที่ปลายท่อ ก็ใช้แทนสปริงดัดท่อ แบบสอดในท่อได้

ในขณะที่ ขนาดของสปริงดัดท่อแบบสวมนอกท่อ จะต้องมีขนาดโตกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อเล็กน้อย

ท่อลม ท่อน้ำร้อน และท่อแก๊ส PAP ของเอ็มเอฟไป๊ป์ (MF Pipe) ที่นำมาจำหน่าย มี 4 ขนาด ได้แก่

ขนาด 1216 (16 มม.) เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 12 มม. ภายนอก 16 มม. (เทียบเท่าท่อชนิดอื่นทั่วไป 3 หุน)

ขนาด 1620 (20 มม.)เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 16 มม. ภายนอก 20 มม. (เทียบเท่าท่อชนิดอื่นทั่วไป 4 หุน)

ขนาด 2025 (25 มม.) เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 20 มม. ภายนอก 25 มม. (เทียบเท่าท่อชนิดอื่นทั่วไป 6 หุน)

ขนาด 2632 (32 มม.) เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 26 มม. ภายนอก 32 มม. (เทียบเท่าท่อชนิดอื่นทั่วไป 1 นิ้ว)

MF Pipe เราได้เตรียมสปริงดัดท่อไว้คอยบริการลูกค้าแล้ว ดูได้จากลิ้งในหน้าเว็บ ข้างล่างนี้

คลิก => สปริงดัดท่อ

เส้นผ่านศูนย์กลาง สปริงดัดท่อ PAP

ความโตของ สปริงดัด ท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส PAP

สปริงดัดท่อชนิดอื่น เช่น สปริงดัดท่อร้อยสายไฟ สปริงดัดท่อทองแดง ก็สามารถนำมาใช้ดัดท่อ PAP ได้ เพียงแต่ต้องเลือกขนาดให้ใกล้เคียง

เพราะถ้าใหญ่เกินไป สำหรับสปริงดัดท่อแบบสอดในท่อ หรือเล็กเกินไป สำหรับสปริงดัดท่อแบบสวมนอกท่อ ก็จะสอดไม่เข้า

แต่ถ้าเล็กเกินไปสำหรับ สปริงดัดท่อแบบสอดในท่อ หรือใหญ่เกินไปสำหรับสปริงดัดท่อแบบสวมนอกท่อ ท่อที่ดัดแล้ว อาจจะบี้เล็กน้อยได้

ขนาดที่แนะนำสำหรับสปริงดัดท่อ
แบบสอดในท่อ และสวมนอกท่อขนาดแนะนำ สปริงดัดท่อ

ตัวอย่างการดัดโค้งท่อ ในสถานการณ์ต่าง ๆ

ตัวอย่างการเดินท่อ ต่อกับปั๊มลม

วิธีการติดตั้งท่อลม ต่อกับปั๊มลมโดยตรง

ตัวอย่างการติดตั้งท่อลม ปั๊มลม

การเดินท่อลม PAP สามารถต่อกับปั๊มลมได้โดยตรง เนื่องจากท่อมีความยืดหยุ่น รองรับการสั่นสะเทือนของปั๊มขณะทำงานได้ การเดินท่อออกจากปั๊มลม ให้มีความโค้งขึ้นข้างบน หรือออกด้านข้าง (ไม่ใช้ข้องอ) ก็จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น รองรับการสั่นสะเทือนของปั๊มได้มากขึ้น

ตัวอย่างการเดินท่อเข้ามุมด้านใน และมุมด้านนอกของอาคาร

การเดินท่อ เข้ามุมอาคาร ไม่ใส่ข้องอ

การเดินท่อ อ้อมมุมนอกอาคาร ไม่ใส่ข้องอ

การเดินท่อลม ท่อน้ำร้อน ท่อแก๊ส PAP สามารถเดินผ่านมุมอาคาร ทั้งมุมในและมุมนอก โดยการดัดโค้งท่อ ถ้าเดินในระนาบเดียวกัน (ความสูงเดียวกัน) ช่วงเข้ามุม ท่อจะห่างออกจากผนังเล็กน้อย (ดูจากรูป ความโค้งของท่อที่ดัดได้ โดยใช้สปริงดัดท่อช่วย) เช่น กรณีมุมในสำหรับท่อขนาด 1620 (20 มม.) ท่อจะห่างจากมุมผนังประมาณ 5-6 ซม. เป็นต้น

ตัวอย่าง การติดตั้งท่อลม ท่อน้ำร้อน เข้ามุม

ตัวอย่าง ติดตั้งท่อลม ไร้รอยต่อ

การเดินท่อลม DIY อ้อมมุมอาคาร

และก็มีเทคนิคที่ทำให้ท่อแนบชิดกับผนังมากขึ้น ด้วยการดัดให้เป็นโค้งรูปตัว S ดังรูปข้างบนนี้

ตัวอย่างการเดินท่อทะลุผนัง

การเดินท่อลม ทะลุผ่านผนัง

กรณีเดินท่อทะลุผ่านผนังจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง ก็สามารถดัดโค้งท่อได้ โดยที่ช่วงเลี้ยวโค้ง ท่อจะลอยออกมาเล็กน้อย ไม่แนบกับผนัง ดังรูปข้างบน

การติดตั้งท่อลม ทะลุผ่านผนัง

ถ้ามีฝั่งหนึ่ง เดินท่อต่อไปไม่ยาว ก็สามารถดัดโค้งได้ทั้ง 2 ฝั่ง (รูปข้างบน) เพราะสามารถแหย่ท่อผ่านรูที่เจาะไว้ ไปยังฝั่งที่เดินท่อไปอีกไม่ไกลได้

การเดินท่อ PAP ทะลุผนัง เปรียบเทียบ ดัดโค้ง กับใส่ข้องอ

แต่ถ้าหากทั้ง 2 ฝั่ง ต้องมีการเดินท่อไปไกลพอสมควร ก็จะมีความลำบากในการดันท่อผ่านรูที่เจาะไว้ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ก็อาจจำเป็นต้องมีการติดตั้งข้องอที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ดังตัวอย่างในรูป

ตัวอย่างการเดินท่อเมนรอง และท่อย่อย ออกจากท่อเมนหลัก (สี่ทาง)

การเดินท่อเมนหลัก ท่อเมนรอง และท่อย่อย

ตัวอย่าง การเดินท่อย่อย แยกจากท่อเมน สี่ทาง

แนะนำให้ใช้วิธี เดินท่อเมนรองออกจากท่อเมนหลัก โดยใช้สามทางลดก่อน แล้วค่อยใส่สามทาง (หรือสามทางลด) ที่ท่อเมนรอง ดัดโค้งท่อย่อยย้อนกลับมา ดังตัวอย่างในรูป

วิธีนี้ จะช่วยลดภาระของท่อเมน ประหยัดกว่า และติดตั้งง่ายกว่า

ตัวอย่างการเดินท่อย่อย เลี้ยวโค้งขึ้นข้างบน เพื่อลดปริมาณน้ำที่ไหลลงท่อย่อย

น้ำหรือความชื้น ที่มากับลม เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เว้นแต่จะมีการติดตั้งชุดทำลมแห้ง (Air Dryer) ตรงต้นทางต่อจากปั๊มลมไว้

วิธีหนึ่งที่นิยมทำ เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงท่อย่อย ด้วยการเดินท่อย่อย ขึ้นข้างบนก่อน แล้วค่อยย้อนลงมา ซึ่งกรณีของท่อเหล็ก จะต้องใช้ข้องอ 2 ตัว เพื่อเปลี่ยนทิศทาง 90 องศา 2 ครั้ง ขึ้นบนแล้วย้อนกลับลงมาข้างล่าง

 

การเดินท่อย่อย ขึ้นข้างบน แล้วเลี้ยวลงมา

กรณีของการเดินท่อลม PAP ไม่ต้องใช้ข้องอ สามารถดัดโค้งท่อได้เลย ดังในรูปข้างบนนี้

ตัวอย่างการเดินท่อน้ำร้อน โดยการดัดโค้งท่อ ไม่ใส่ข้องอ

กรณีการเดินท่อน้ำร้อนแบบเดินลอย (ไม่ได้ฝังในผนัง) วิธีการติดตั้ง รวมถึงวิธีการดัดโค้ง ก็จะคล้าย ๆ กับกรณีของท่อลม

การเดินท่อเข้าโค้ง มุมพื้นห้องน้ำ

กรณีเดินท่อแบบฝังในผนัง ปกติช่างปูนมักจะก่อผนังขึ้นมาก่อน แล้วค่อยกรีดผนังให้เป็นร่อง เพื่อเดินท่อในร่อง แล้วปิดด้วยปูน ฉาบผิวให้เรียบ

เราสามารถเดินท่อในผนังแบบไร้รอยต่อได้ ด้วยการดัดโค้งท่อ นอกจากจะประหยัดค่าข้อต่อแล้ว ก็ยังเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดตั้งข้อต่อที่ผิดพลาดได้ด้วย

วิธีการคือ กรีดผนัง ขยายร่องในผนัง ให้รองรับการดัดโค้งท่อ ดังรูปข้างบนนี้

การเดินท่อเข้ามุม รอยต่อระหว่างผนังกับพื้น ก็ทำได้เช่นกัน โดยการดัดโค้งให้แคบที่สุดเท่าที่จำทำได้ โดยการใช้สปริงดัดท่อช่วย

การดัดโค้งท่อ เข้ามุมผนัง มุมพื้น

กรณีที่ไม่ได้เซาะร่องตรงพื้น ก็ต้องเทพื้น และปูกระเบื้อง ให้หนาหน่อย เพื่อจะได้กลบท่อตรงมุมให้มิด

ถ้าสามารถเซาะร่องพื้นได้ด้วย (นอกจากเซาะร่องที่ผนัง) ก็จะสามารถลดความหนาของปูนที่ต้องเทเพิ่มได้ (ดูรูปข้างบน)

หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ กรีดผนังบริเวณมุมผนังให้ลึก เพื่อจะได้ดัดโค้งแล้วดันท่อเข้าไป ทำให้ท่อที่โผล่พ้นมุมรอยต่อระหว่างผนังและพื้นมีน้อย (ดูรูปข้างบน)

ยิ่งถ้ามีการเซาะร่องบริเวณมุมผนังและพื้น พร้อม ๆ ไปกับเซาะร่องผนังตรงมุมให้ลึกขึ้นร่วมด้วย ก็จะยิ่งทำให้ท่อโผล่ออกมาน้อย ความหนาของปูนที่จำเป็นต้องเทเพื่อกลบท่อก็มีน้อยลง