รายละเอียด
ท่อน้ำร้อน PAP MF สีส้ม
ทนอุณหภูมิ 95 °C
ความดันใช้งาน 10 บาร์
ขนาด 1620 (20 มม.)
เทียบเท่าท่อ 1/2″ (4 หุน)
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (ID) 16 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (OD) 20 มม.
เทียบกับท่อทั่วไปคือ ขนาด 1/2″ (4 หุน)
ขนาดตามในมาตรฐาน ASTM F1282 คือ 5/8″ (5 หุน)
ท่อน้ำร้อน PAP ขนาด 1620 (20 มม.) เป็นขนาดมาตรฐาน ที่ใกล้เคียงกับท่อพีวีซี หรือท่อเหล็กขนาด 4 หุน เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 16 มม. ภายนอก 20 มม.
ท่อขนาด 1620 (เทียบเท่า 4 หุน) เป็นขนาดที่ใช้กันมากที่สุด เหมาะสำหรับเดินท่อน้ำร้อน ระบบเล็กถึงกลาง เช่น เครื่องทำร้อน 1 เครื่อง จ่ายน้ำร้อนสำหรับห้องน้ำ 1-4 ห้อง มั่นใจได้ว่า ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการใช้งาน
ท่อน้ำร้อน PAP สามารถเดินท่อแบบฝัง อยู่ในผนัง หรือ แบบเดินลอย อยู่นอกผนัง ก็ได้
ข้อต่อ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มักใช้สำหรับเดิน ท่อน้ำร้อน มีดังนี้
ข้องอเกลียวนอก (L1620x1/2″M) มักใช้เพื่อต่อกับสายน้ำดี ประเภทที่ใช้กับน้ำร้อน (สายน้ำดีสแตนเลสลอน) เช่น ต่อเชื่อมระหว่างเครื่องทำน้ำร้อน กับท่อน้ำร้อน
การใช้ข้องอเกลียวนอก แบบนี้ จะเหมาะมากกับกรณีเป็นการเดินท่อ แบบเดินลอย
หรือกรณี เดินฝังในกำแพง ก็ใช้ได้เช่นกัน เพียงแต่ข้อควรระวังคือ ต้องติดตั้งโดยเผื่อให้ หลังจากมีการฉาบปูนผนังห้อง และปูกระเบื้องทับ (ถ้ามี) เสร็จแล้ว เกลียวนอกยังคงโผล่พ้นผนัง หรือกระเบื้อง ออกมา เพื่อให้ยังสามารถขันเกลียวของ สายน้ำดีสำหรับน้ำร้อน เข้าไปได้อยู่
หรืออีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้ไม่ต้องกังวลว่า เกลียวนอก จะโผล่พ้นผนังมาหรือไม่ คือ การติดตั้งโดยใช้ข้องอเกลียวในแทน โดยที่ เมื่อจะต่อด้วยสายน้ำดีสำหรับน้ำร้อน (สายน้ำดีสแตนเลสลอน) ก็ใช้นิปเปิ้ลทองเหลือง แปลงจากเกลียวใน มาเป็นเกลียวนอก (ดูรูปข้างบน)
ตัวอย่างการเดินท่อน้ำร้อน (ท่อ PAP ดัดโค้งได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ข้องอ)
ข้องอเกลียวใน (L1620x1/2″F) นอกจากจะใช้สำหรับติดตั้งสายน้ำดีสำหรับน้ำร้อน เพื่อเชื่อมกับเครื่องทำน้ำร้อนแล้ว ยังใช้สำหรับจุดติดตั้งก๊อกผสม หรืออุปกรณ์สุขภัณฑ์อื่น ๆ ได้
สายน้ำดี สแตนเลสลอน ใช้ได้ดีทั้งน้ำเย็น และน้ำร้อน เนื่องจากโครงสร้างเป็นสแตนเลส 304 ทั้งหมด และมีรูในที่ใหญ่กว่าสายน้ำดีสแตนเลสถักที่ขายอยู่ทั่วไป จึงเหมาะสำหรับต่อเชื่อมระหว่างเครื่องทำน้ำร้อน กับท่อน้ำร้อน หรือท่อน้ำเย็น (เพื่อจ่ายน้ำเข้าเครื่องทำน้ำร้อน)
สายน้ำดี สแตนเลสหุ้มพีวีซี โครงสร้างภายในเป็นแตนเลส 304 เช่นเดียวกับสายน้ำดีสแตนเลสลอน สิ่งที่แตกต่างคือ หัวเกลียวแข็งแรงกว่า ลอนละเอียดกว่า และหุ้มด้วยพีวีซีนิ่ม ทำให้สายมีความอ่อนตัวกว่า (ให้ตัว) และติดตั้งง่ายกว่า เหมือนกับกรณีติดตั้งสายสแตนเลสถักทั่วไป (แต่แข็งแรงทนทานกว่า สายสแตนเลสถักมาก) มีให้เลือก 2 สี คือ สีน้ำเงิน (มักใช้ฝั่งน้ำเย็นขาเข้าเครื่องทำน้ำร้อน) และสีแดง (มักใช้ฝั่งน้ำร้อน ขาออกจากเครื่องทำน้ำร้อน)
กรณีที่ไม่ชอบสีแดงและสีน้ำเงิน แต่ต้องการความแข็งแรงทนทาน และยืดหยุ่น (อ่อนตัว) ก็สามารถใช้วิธีนำเอาสายน้ำดีสแตนเลสหุ้มพีวีซีสีแดงหรือน้ำเงินก็ได้ มาปอกเปลือกหุ้มพีวีซีออก ก็จะเห็นโครงสร้างสแตนเลส สีแบบสแตนเลส โดยที่ความแข็งแรงทนทน ก็จะลดลงไปจากตอนหุ้มพีวีซีเล็กน้อยเท่านั้น
สามทาง (T1620x1620x1620) ใช้ในกรณีที่มีการเดินท่อแขนง แยกออกจากท่อเมนหลัก ยกตัวอย่างเช่น เดินท่อมาจากเครื่องทำน้ำร้อน ใช้สามทางต่อ เพื่อแยกท่อ เส้นหนึ่งไปที่อ่างล้างหน้า อีกเส้นหนึงไปที่ก๊อกผสมฝักบัว เป็นต้น
สามทางเกลียวใน (T1620x1/2″Fx1620) ใช้ในกรณีที่ เดินท่อผ่านจุดใช้งานพอดี ยกตัวอย่างเช่น เดินท่อผ่านอ่างล้างหน้า ติดตั้งสามทางเกลียวใน แล้วใส่ข้อต่อนิปเปิ้ล เพื่อไว้ติดตั้งสายน้ำดีของก๊อกผสมอ่างล้างหน้าได้ทันที เป็นต้น
อุปกรณ์ หรือเครื่องมือ ที่ใช้สำหรับการติดตั้ง มีดังนี้
กรรไกรตัดท่อ เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ตัดท่อพีวีซี หรือจะใช้กรรไกรตัดท่อชนิดอื่นก็ได้ โดยข้อสำคัญคือ รอยตัดต้องเรียบ ไม่เป็นขุย และตั้งฉากกับแนวท่อ
อุปกรณ์บานท่อ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อจัดท่อให้รูในมันกลม (เนื่องจากตอนตัดด้วยกรรไกร อาจทำให้รูในเปลี่ยนรูป) และขยายตัวเล็กน้อย (ปากท่อจะได้ไม่ไปขูดซีลซิลิโคนจนฉีกขาด)
กรณีที่มีข้อต่อ PAP ชนิดทองเหลือง หรือวาล์ว PAP ทองเหลืองด้วย ต้องใช้อุปกรณ์บานท่อและลบมุม เพื่อทำการลบคมปากท่อก่อน ป้องกันปากท่อขูดแหวนซีลซิลิโคนจนปลิ้นหรือฉีกขาด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึมได้
ประแจขันข้อต่อ ใช้สำหรับขันข้อต่อ PAP ชนิดพลาสติก ประแจแบบนี้ ถูกออกแบบมาใช้สำหรับขันข้อต่อ PAP ของ MF Pipe โดยเฉพาะ ขณะออกแรงขัน จะกระจายแรงกดบนฝาเกลียวของข้อต่อ เป็น 6 จุด ทำให้งานติดตั้งมีคุณภาพ สามารถออกแรงขันได้อย่างเต็มที่ โดยที่ฝาเกลียวไม่แตก
สปริงดัดท่อ มีทั้งแบบสวมนอกท่อ และสอดในท่อ โดยที่แบบสวมในท่อ จะใช้สำหรับดัดโค้งปลายท่อ ส่วนแบบสวมนอกท่อ จะมีประโยชน์มากกว่า ดัดโค้งท่อได้ทั้งปลายท่อ และกลาง ๆ ท่อ (ทุกส่วนของท่อ)
การติดตั้งข้องอหลาย ๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนเส้นท่อเมน อาจจะทำให้แรงดันตก ดังนั้น การดัดโค้งท่อ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าข้องอแล้ว ก็ยังมีประโยชน์อย่างมากในแง่ของการรักษาแรงดันน้ำ และการลดจำนวนข้อต่อที่ฝังในผนัง ก็ช่วยลดความเสี่ยงของการติดตั้งที่ผิดพลาดได้อีกด้วย