รายละเอียด
ท่อน้ำร้อน PAP MF สีส้ม
ทนอุณหภูมิ 95 °C
ความดันใช้งาน 10 บาร์
ขนาด 2025 (25 มม.)
เทียบเท่าท่อ 3/4″ (6 หุน)
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (ID) 20 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (OD) 25 มม.
เทียบกับท่อทั่วไปคือ ขนาด 3/4″ (6 หุน)
ขนาดตามในมาตรฐาน ASTM F1282 คือ 3/4″ (6 หุน)
ท่อน้ำร้อน PAP ขนาด 2025 (6 หุน) เป็นท่อขนาดกลางที่คุ้มค่าคุ้มราคา เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 20 มม. ภายนอก 25 มม.
ท่อขนาด 2025 (เทียบเท่า 6 หุน) เหมาะสำหรับเดินท่อเมนหลัก ในระบบน้ำร้อน ขนาดกลาง ที่มีเครื่องทำน้ำร้อน 1 เครื่อง จ่ายห้องน้ำ 4-10 ห้อง (ขึ้นกับขนาดข้องเครื่องทำน้ำร้อน อุปกรณ์ที่ใช้น้ำร้อนในแต่ละห้อง และการใช้น้ำร้อนพร้อม ๆ กัน)
ส่วนท่อย่อย ก็สามารถเลือกใช้ขนาด 1620 (5 หุน) โดยใช้ข้อต่อ สามทางลด (T2025x1620x2025) ในการเดินท่อย่อย ออกจากท่อเมน
ท่อ PAP สามารถเดินท่อแบบฝัง อยู่ในผนัง หรือ แบบเดินลอย อยู่นอกผนัง ก็ได้
ข้อต่อ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มักใช้สำหรับเดิน ท่อน้ำร้อน มีดังนี้
ต่อตรงเกลียวนอก (S2025x3/4″M) ใช้เพื่อต่อกับเครื่องทำน้ำร้อน วาล์ว หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
สามทาง (T2025x2025x2025) ใช้เพื่อเดินท่อแขนงเพิ่มเติม แยกออกจากท่อเมนหลัก
สามทางลด (T2025x1620x2025) ใช้เพื่อเดินท่อย่อย ขนาด 1620 (5 หุน) ออกจากท่อเมน ขนาด 2025 (6 หุน)
ข้องอ (L2025x2025) ข้อดีประการสำคัญอันหนึ่งของท่อ PAP คือ สามารถดัดโค้งงอได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ข้องอ นอกจากจะประหยัดค่าข้องอแล้ว ยังทำให้งานเดินท่อทำได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดของการติดตั้งข้อต่อได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีบางจุด ที่จำเป็นต้องใช้ข้องอ
บอลวาล์ว (BV-2025×2025) ใช้สำหรับต่อท่อ 2025 ทั้งสองด้าน ติดตั้งแบบเดียวกันกับข้อต่อ PAP ชนิดทองเหลือง
อุปกรณ์ หรือเครื่องมือ ที่ใช้สำหรับการติดตั้ง มีดังนี้
กรรไกรตัดท่อ เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ตัดท่อพีวีซี หรือจะใช้กรรไกรตัดท่อชนิดอื่นก็ได้ โดยข้อสำคัญคือ รอยตัดต้องเรียบ ไม่เป็นขุย และตั้งฉากกับแนวท่อ
อุปกรณ์บานท่อ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อจัดท่อให้รูในมันกลม (เนื่องจากตอนตัดด้วยกรรไกร อาจทำให้รูในเปลี่ยนรูป) และขยายตัวเล็กน้อย (ปากท่อจะได้ไม่ไปขูดซีลซิลิโคนจนฉีกขาด)
กรณีที่มีข้อต่อ PAP ชนิดทองเหลือง หรือวาล์ว PAP ทองเหลืองด้วย ต้องใช้อุปกรณ์บานท่อและลบมุม เพื่อทำการลบคมปากท่อก่อน ป้องกันปากท่อขูดแหวนซีลซิลิโคนจนปลิ้นหรือฉีกขาด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึมได้
ประแจขันข้อต่อ ใช้สำหรับขันข้อต่อ PAP ชนิดพลาสติก ประแจแบบนี้ ถูกออกแบบมาใช้สำหรับขันข้อต่อ PAP ของ MF Pipe โดยเฉพาะ ขณะออกแรงขัน จะกระจายแรงกดบนฝาเกลียวของข้อต่อ เป็น 6 จุด ทำให้งานติดตั้งมีคุณภาพ สามารถออกแรงขันได้อย่างเต็มที่ โดยที่ฝาเกลียวไม่แตก
สปริงดัดท่อ มีทั้งแบบสวมนอกท่อ และสอดในท่อ โดยที่แบบสวมในท่อ จะใช้สำหรับดัดโค้งปลายท่อ ส่วนแบบสวมนอกท่อ จะมีประโยชน์มากกว่า ดัดโค้งท่อได้ทั้งปลายท่อ และกลาง ๆ ท่อ (ทุกส่วนของท่อ)
การติดตั้งข้องอหลาย ๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนเส้นท่อเมน อาจจะทำให้แรงดันตก ดังนั้น การดัดโค้งท่อ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าข้องอแล้ว ก็ยังมีประโยชน์อย่างมากในแง่ของการรักษาแรงดันน้ำ และการลดจำนวนข้อต่อที่ฝังในผนัง ก็ช่วยลดความเสี่ยงของการติดตั้งที่ผิดพลาดได้อีกด้วย